วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การผลิตลูกอม ><"

หลายคนคงสงสัยกันว่า ลูกอมที่ เราทานกันอยู่ในทุกๆวันนี้มีวิธีการทำอย่างไร อะไรอยู่ในนั้นบ้าง วันนี้ ที่บล็กของเรามีคำตอบ จ้าๆๆๆ ^^

ลูกอมที่เราทานกัน ทุกวันนี้ แยกใหญ่ๆได้  2 ชนิด คือ
                  1. ลูกอมชนิดแข็ง ( hard boiled candy ) เช่น ฮอลล์ , โอเล่
                  2. ลูกอมชนิดอ่อน ( soft boiled candy ) เช่น ซูกัส , คูก้า            ซึ่งสามารถเคี้ยวได้


          ความจริงลูกอมยังแบ่งออกได้อีกหลายชนิด แล้วแต่จะใช้หลักการแบ่งอย่างไร เป็นหลัก แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะลูกอมชนิดเม็ดแข็งก่อน  ลูกอมชนิดนี้ที่ขายตามท้อง ตลาด มักจะมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ไม่กี่อย่าง ได้แก่ น้ำตาลทราย , แบะแซหรือน้ำเชื่อม กลูโคส , กรดซิตริก ( citric acid ) สำหรับปรับรสเปรี้ยว และสารสังเคราะห์ที่ใช้ ปรุงแต่งสี กลิ่น รส ให้เป็นลูกอมรสต่างๆ
          ส่วนผสมต่างๆ เหล่านี้จะได้รับการผสมและเคี่ยวให้เข้ากันตามลำดับขั้นตอน ส่วนจะใช้อะไรมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสูตรผสมของแต่ละยี่ห้อ แต่มีส่วนผสมบางชนิดถ้า ใช้มากเกินไปจะมีผลไม่ดีต่อลูกอม
เช่น แบะแซ และกรด  ถ้าใช้แบะแซมากเกินไปจะทำ ให้ลูกอมเก็บไว้ได้ไม่นาน และเยิ้มแฉะ เพราะแบะแซดูดความชื้นได้ง่าย
           ส่วนกรดซิตริก นั้นถ้ามากไป กรดจะทำไห้น้ำตาลทรายบางส่วนแตกตัว กลายเป็นน้ำตาลประเภทหนึ่ง ที่ เรียกว่า น้ำตาลอินเวอร์ส ( inverted sugar ) ซึ่งจะดูดความชื้นได้ดีมาก ทำให้ลูกอม ที่เก็บไว้นานๆ เกิดการนิ่มเละเช่นกัน ดังนั้นลูกอมชนิดแข็งจึงต่างจากลูกอมชนิดอ่อน ซึ่ง ต้องการเนื้อลูกอมที่อ่อนนุ่มกว่าและเคี้ยวได้ จึงใส่แบะแซมากกว่า และยังใส่ไขมันช่วยให้ ลูกอมอ่อนตัวด้วย
            สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการผลิตลูกอมชนิดแข็ง ก็คือ บรรจุภัณฑ์ หรือที่นิยม เรียกกันว่า กระดาษห่อลูกอม เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นผ่านเข้าไปยังเนื้อลูกอม ภาชนะที่ ใช้ห่อหุ้มตัวลูกอมนั้นอาจทำจากวัสดุได้หลายอย่างไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษเพียงอย่างเดียว เช่น อาจใช้กระดาษเซลโลเฟน , พลาสติก ( โพลีเอทิลีน หรือโพลีโพรพิลีน ) รวมทั้งพวก ฟิล์มพลาสติกเคลือบด้วยโลหะที่เห็นเป็นสีเงินเงาๆ วัสดุเหล่านี้จะมีสมบัติยอมให้ความชื้น แสง และก๊าซผ่านได้แตกต่างกัน ถ้ากันความชื้นได้ดีย่อมแน่นอนว่าลูกอมยี่ห้อนั้นจะเก็บ ได้นานโดยไม่เยิ้มแฉะ หรืออ่อนนิ่มไปเสียก่อน นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ลูกอมยังทำหน้าที่ ป้องกันการปนเปื้อนของฝุ่นละออง แมลง เชื้อจุลินทรีย์ และยังช่วยรักษาสี กลิ่นของลูกอม ไม่ให้ซีดจางลงก่อนเวลาอันสมควรอีกด้วย นอกเหนือจาการใช้โฆษณาและตกแต่ง ให้ สินค้าลูกอมมีความสวยงามเด่นสะดุดตาผู้บริโภคได้อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น